บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2012

Chord Extension

รูปภาพ
Chord Extension คำว่า Chord Extension ( บางตำราเรียกว่า Extended Chord) สามารถแปลได้ตรงความหมาย ก็คือ "คอร์ดที่มีการขยายออกไป" ซึ่งคำว่า extension นี้ คนมักนิยมเรียกกันย่อๆว่า tension นั่นเอง หรือ บ้างก็มอง Extended Chord ว่าเป็น Upper Structure จากคอร์ดที่เราได้ใน Diatonic เมื่อมีการใช้คอร์ดเหล่านั้นเราเรียกมันว่า Chord Tone ครับ หรือว่าง่ายๆก็คือ โน๊ตที่เป็นเสียงเดียวกับคอร์ดนั่นเอง เช่น คอร์ด C จะมี Chord Tone คือ 1=C, 3 =E และ 5=G และมีส่วนที่ขยายออกไป ( Extension) เป็นไปตามหลัก Arpeggio ก็คือมี 7=B, 9=D, 11=F และ 13=A ให้เริ่มต้นมองเป็น seventh chord  ด้วยเหตุผลตามที่เคยกล่าวไปแล้วในเรื่องของ Diatonic ซึ่งทำให้เรามอง Chord Tone เป็น 1, 3, 5 และ 7 โดยมี Extension เป็น 9, 11 และ 13 ในการใช้ Extension ใช่ว่าจะเพิ่มได้กับทุกคอร์ดนะครับ จากตัวอย่างของคอร์ด C ข้างต้น เราจะไม่นิยมใช้ตัว 11(F) มาเป็นเทนชั่นให้กับคอร์ด C ครับ เหตุผลง่ายๆก็คือ มันเป็น Avoid Note ของคอร์ดเมเจอร์นั่นเอง    " หน้าที่ของ guide tone เป็นเสมือน โน๊ตที่ใ

Chord Scale

รูปภาพ
Chord Scale จากเรื่องของ Secondary Dominant ที่ได้เคยกล่าวไปแล้ว เผื่อคนที่ยังมีข้อสงสัยอยู่ในใจว่า... "ถ้าเจอคอร์ดพวกนี้ แล้วตูจะใช้สเกลอะไรเล่น ?"   แน่นอนว่าเราสามารถใช้เพียง Chord Tone หรือ Arpeggio ได้เลย แต่นั่นมันก็มีเพียงแค่ 3-4 โน๊ต บางคนอาจเลือกที่จะใช้ Mixolydian Mode เพราะเห็นว่า มันเป็น คอร์ด Dominant แต่นั่นคือทางเลือกที่ผิด... เพราะ G7 เป็น ห้าของหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า Primary Dominant หรือก็คือ คอร์ดห้า ตามคีย์ปรกตินั่นเอง หมายความว่า มันคือ G Mixolydian ธรรมดา แต่ในขณะที่คอร์ด Dominant อื่นๆ อาจไม่ใช่... G7 = G A B C D E F      =    G Mixolydian          ( โหมดที่ห้าของ C Major Scale) A7 = A B C# D E F G    =    A Mixolydian b13    ( โหมดที่ห้าของ D Melodic Minor Scale) B7 = B C D# E F# G A  =    B Harmonic Phrygian ( บางคนเรียกว่า B Mixolydian b9-b13) C7 = C D E F G A Bb    =    C Mixolydian             ( โหมดที่ห้าของ F Major Scale) D7 = D E F# G A B C    =    D Mixolydian             ( โหมดที่ห้าของ G Major Scale) E7 = E F G# A

Secondary Dominant

รูปภาพ
Secondary Dominant Secondary Dominant ก็แปลได้ตรงตัวครับว่าเป็น ดอมิแนนท์ลำดับที่สอง หรือก็คือ ไม่ใช่ดอมิแนนท์หลักนั่นเอง จากเรื่องของ Diatonic ในครั้งแรก จะเห็นได้ว่า คอร์ดดอมิแนนท์นั้น เป็นคอร์ดที่ 5 เพียงคอร์ดเดียวนั่นก็คือดอมิแนนท์หลัก  อาจจะเรียก Secondary Dominant ได้ว่าเป็น คอร์ด " 5 สมมุติ" จากเรื่อง Guide Tone คราวที่แล้ว จะมองชุดคอร์ดตาม วงจรคู่ 4 แต่การมองแบบ Secondary Dominant นี้จะมองตามวงจรคู่ 5(Cycle Of Fifth) และแน่นอนว่า คอร์ดดอมิแนนท์จะทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ต่อเมื่อ มีคอร์ดหนึ่งมารองรับหรือก็คือลักษณะที่เค้าเรียกกันว่า V-I (Five-One) นั่นเอง ดังนั้น คอร์ด" 5 สมมุติ" จึงต้องมีคอร์ด" 1 สมมุติ" มารองรับอยู่เสมอเช่นกัน ( หลายๆคนที่ยังไม่รู้จักกับ Secondary Dominant อาจเคยเจอมาแล้วครับ เช่น คอร์ด E หรือ E7 ในคีย์ C หรือเช่น คอร์ด D7 ในคีย์ C) คอร์ด" 1 สมมุติ"ที่ว่านี้ สามารถมีได้ทั้งหมด 3 แบบครับ   1. คอร์ดหนึ่งที่เป็น I major   2. คอร์ดหนึ่งที่เป็น I minor   3. คอร์ดหนึ่งที่เป็น I dominant ( ส

Guide Tone

รูปภาพ
Guide Tone เราสามารถใช้ arpeggio เล่นบนทุกๆคอร์ดได้ เนื่องจากมันเป็นโน๊ตในคอร์ดอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่ต้องห่วงว่า เล่นไปแล้วมันจะเข้ากับคอร์ดนั้นๆได้หรือไม่ ? แต่การใช้เพียง arpeggio อย่างเดียว จะทำให้ไลน์ที่เราเล่นออกมา มันกลายเป็น practice จนเกินไป และไม่ออกมาเป็น music หรือว่าง่ายๆก็คือ มันฟังเป็น คอร์ดใครคอร์ดมัน และไม่มีการเชื่อมต่อประโยค ระหว่าง "คอร์ดสู่คอร์ด" หากเราต้องการให้แต่ละคอร์ด ฟังดูเป็นเรื่องเดียวกันมากขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของ guide tone ส่วนใหญ่ทางเดินของชุดคอร์ด มักจะเดินตาม วงจรคู่ 4 (Cycle Of Fourth) เช่น...        | Em | Am | Dm | G7 | ลองสังเกตุที่ตัว root ของคอร์ดนะครับ เราจะเห็นว่า ถ้า   Em เป็น 1 เราจะได้ Am เป็นตัวที่ 4 ของ E     และถ้า Am เป็น 1 เราก็จะได้ Dm เป็นตัวที่ 4 ของ A    และสำหรับ Dm - G ก็เช่นกัน Guide tone จะนิยมใช้โน๊ตตัวที่ 3 และ 7 ของแต่ละคอร์ด ความจริงมันสามารถเป็นตัวอื่นๆได้อีก แต่ที่นิยมใช้ ตัว 3 และ 7 เพราะเป็นพื้นฐานในการมองชุดคอร์ด ตามวงจรคู่ 4 ยกตัวอย่างจากชุดคอร์ดเดิม เช่น...     Em   

Mode

รูปภาพ
Mode อย่างที่ทราบๆกันว่า  Mode ก็คือ scale ที่มีการเปลี่ยน tonality(เปลี่ยน root ของ scale) เช่น C major scale   มีโน๊ต C D E F G A B เมื่อนำมาเขียนแบบ mode ก็เป็นดังนี้...  1. C D E F G A B C     ชื่อโหมด     C Ionion    2. D E F G A B C D     ชื่อโหมด     D Dorian    3. E F G A B C D E     ชื่อโหมด     E Phrygian    4. F G A B C D E F     ชื่อโหมด     F Lydian    5. G A B C D E F G    ชื่อโหมด     G Mixolydian    6. A B C D E F G A     ชื่อโหมด     A Aeolian    7. B C D E F G A B     ชื่อโหมด     B Locrian ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า มันก็ยังเป็น C major scale Mode จะแตกต่างกับ scale ตรงไหน?ความสำคัญของ mode ก็คือ...เพื่อให้เรา เห็นโน๊ตนั้นๆเป็นตัวที่หนึ่ง  (เช่น ถ้าเราเล่น E phrygian มันก็แค่ไล่ C major scaleโดยเริ่มจากโน๊ตตัวที่สาม! เห็น มั้ยครับว่า เรามอง E เป็นโน๊ต ตัวที่สามไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งผิดจุดประสงค์ของความเป็น mode) การ ใช้โหมดต่างๆนั้น จะขึ้นอยู่กับคอร์ดเป็นหลัก ซึ่งในแต่ละโหมดก็จะมี avoid note(โน๊ตที่ควรหลีกเลี่ยง)  อยู่ด้วยเช่น...    Ionion    

Diatonic(ไดอาโทนิค)

รูปภาพ
Diatonic Diatonic( ไดอาโทนิค) ส่วนใหญ่มักจะเรียกย่อกันมาจาก diatonic chords หมายถึง "คอร์ดต่างๆที่สร้างขึ้นจากโน๊ตในสเกล" ยกตัวอย่างจาก Scale C Major C D E F G A B  มีโน๊ตที่แตกต่างกันอยู่ทั้งหมด 7 ตัว คือ... 1  2  3 4 5 6  7    เพราะตัวที่ 8 มันก็คือ ตัว C เหมือนเดิม หลักของโครงสร้างคอร์ด เริ่มต้นจาก arpeggio คือ "การข้ามตัวโน๊ต" triad chord ก็คือคอร์ดที่มีโน๊ต 3 เสียง ซึ่งเป็นไปตามหลักของ arpeggio หลักคือจะเป็นโน๊ตตัวที่ 1, 3 และ 5 ของคอร์ด จาก Scale C Major  ข้างต้น ถ้าเรานำโน๊ตทั้ง 7 ตัว มาสร้าง triad chord โดยเริ่มจาก root ของแต่ละตัว ดังนี้...     1 - 3 - 5        C - 3 - 5     D - 3 - 5     E - 3 - 5     F - 3 - 5     G - 3 - 5     A - 3 - 5     B - 3 - 5 ( แต่ละ บรรทัด จะขึ้นด้วยตัวที่ 1, ลองเติมตัวที่ 3 กับ 5 ตามสเกลซีเมเจอร์) เมื่อเสร็จแล้ว เราจะเห็นว่า มันกลายเป็นคอร์ดดังนี้...    1. C          ประกอบด้วยโน๊ต    C - E - G    2. Dm        ประกอบด้วยโน๊ต    D - F - A    3. Em        ประกอ