Guide Tone
เราสามารถใช้ arpeggio
เล่นบนทุกๆคอร์ดได้ เนื่องจากมันเป็นโน๊ตในคอร์ดอยู่แล้ว ดังนั้น
จึงไม่ต้องห่วงว่า
เล่นไปแล้วมันจะเข้ากับคอร์ดนั้นๆได้หรือไม่?
แต่การใช้เพียง arpeggio
อย่างเดียว จะทำให้ไลน์ที่เราเล่นออกมา
มันกลายเป็น practice
จนเกินไป และไม่ออกมาเป็น music หรือว่าง่ายๆก็คือ
มันฟังเป็น คอร์ดใครคอร์ดมัน และไม่มีการเชื่อมต่อประโยค ระหว่าง
"คอร์ดสู่คอร์ด"
หากเราต้องการให้แต่ละคอร์ด
ฟังดูเป็นเรื่องเดียวกันมากขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของ guide tone
ส่วนใหญ่ทางเดินของชุดคอร์ด มักจะเดินตาม
วงจรคู่4
(Cycle Of Fourth)
เช่น...
| Em |
Am | Dm | G7 |
ลองสังเกตุที่ตัว root
ของคอร์ดนะครับ เราจะเห็นว่า
ถ้า Em เป็น 1 เราจะได้ Am เป็นตัวที่ 4 ของ
E และถ้า Am
เป็น 1 เราก็จะได้ Dm เป็นตัวที่
4 ของ A และสำหรับ Dm - G ก็เช่นกัน
Guide tone จะนิยมใช้โน๊ตตัวที่ 3 และ 7
ของแต่ละคอร์ด ความจริงมันสามารถเป็นตัวอื่นๆได้อีก แต่ที่นิยมใช้ ตัว 3 และ 7 เพราะเป็นพื้นฐานในการมองชุดคอร์ด ตามวงจรคู่
4
ยกตัวอย่างจากชุดคอร์ดเดิม เช่น...
Em มีโน๊ตตัวที่3 และตัวที่7
เป็น G และ D
Am มีโน๊ตตัวที่3 และตัวที่7
เป็น C และ G
Dm มีโน๊ตตัวที่3 และตัวที่7
เป็น F และ C
G7 มีโน๊ตตัวที่3 และตัวที่7
เป็น B และ F
สามารถเขียนออกมาได้ดังนี้...
ตัวที่3 = G
C F B
| Em |
Am | Dm | G7 |
ตัวที่7 = D
G C F
การเชื่อมต่อ เราจะใช้สลับกัน เช่น
ใช้ตัวที่3
จากคอร์ดนึง ส่งไปหาตัวที่7 ของอีกคอร์ดนึง
หรือใช้ตัวที่ 7 จากคอร์ดนึง ส่งไปหาตัวที่3 ของอีกคอร์ดนึง
ซึ่งสามารถเขียนออกมาได้ดังนี้...
3 --> 7
--> 3 --> 7
G --> G
--> F --> F
| Em | Am | Dm | G7 |
7 --> 3
--> 7 --> 3
D --> C
--> C --> B
Guide tone แบ่งออกหลักๆเป็น 3ชนิด
1. Guide Tone แบบ Common
Tone ก็คือ เป็นโน๊ตเสียงเดียวกัน
เช่น ตัวที่3 ของ Em เป็นโน๊ตเดียวกัน กับตัวที่7 ของ Am (คือ G --> G)
2. Guide Tone แบบ Chromatic
Approach ก็คือห่างกันครึ่งเสียง
เช่น ตัวที่7 ของ Dm ส่งไปหา ตัวที่3 ของ G7 (คือ C
--> B)
3. Guide Tone แบบ Diatonic
ก็คือตามสเกล หรือว่า
ห่างกันได้ถึง
หนึ่งเสียงเต็ม เช่น ตัวที่7 ของ Am
ส่งหาตัวที่3 ของ Dm (คือ
G --> F)
(อาจสรุปเอาง่ายๆว่า guide tone จะอยู่ห่างกัน ไม่เกินหนึ่งเสียงเต็มครับ)
จะเห็นได้ว่า 7
--> 3 หรือ 3 --> 7
ต่างก็อยู่ในเงื่อนไขของ Guide Tone ทั้ง 3แบบ ทั้งสิ้น ซึ่งจะทำให้ไลน์ระหว่างคอร์ดนึง ไปสู่อีกคอร์ดนึง
เป็นไปอย่างราบรื่น หน้าที่ของ guide tone จึงเป็นเสมือน
โน๊ตที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอร์ดสู่คอร์ด
*แนวทางการฝึก*
1. วิเคราะห์ progression (ทางเดินคอร์ด) ที่ใช้ในเพลง Autumn Leaves
2. ลองวิเคราะห์ guide tone ที่ใช้ในท่อน melody ของเพลง
3. ลองหา guide tone ต่างๆ(3 และ 7) ของทุกๆคอร์ดในเพลงนี้
4. ลองสร้างไลน์ของตัวเอง
โดยใช้ความรู้จากเรื่องที่ผ่านมาคือ Arpeggio, guide tone และ
avoid note(mode)
5. แนะนำให้เขียนแต่ง solo ขึ้นเป็น sheet note เพราะจะทำให้
เราสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ โดยอาจเริ่มจากการเขียน
เป็น eight note ทั้งหมดดูก่อน แล้วจึงค่อย
ตัดทอน หรือ เพิ่มเติม
ตามความเหมาะสม
6. ถ้ายังไม่เข้าใจ
แนะนำให้ย้อนกลับไปฝึกเรื่อง arpeggio และ diatonic
อีกครั้งก่อน
7. ฝึกให้ครบทั้ง 12คีย์ และลองกับ progression
ของเพลงอื่นๆด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น