Secondary Dominant


Secondary Dominant



Secondary Dominant ก็แปลได้ตรงตัวครับว่าเป็น ดอมิแนนท์ลำดับที่สอง
หรือก็คือ ไม่ใช่ดอมิแนนท์หลักนั่นเอง
จากเรื่องของ Diatonic ในครั้งแรก จะเห็นได้ว่า คอร์ดดอมิแนนท์นั้น เป็นคอร์ดที่ 5 เพียงคอร์ดเดียวนั่นก็คือดอมิแนนท์หลัก  อาจจะเรียก Secondary Dominant ได้ว่าเป็น คอร์ด "5สมมุติ"

จากเรื่อง Guide Tone คราวที่แล้ว จะมองชุดคอร์ดตาม วงจรคู่4 แต่การมองแบบ Secondary Dominant นี้จะมองตามวงจรคู่ 5(Cycle Of Fifth)
และแน่นอนว่า คอร์ดดอมิแนนท์จะทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ต่อเมื่อ มีคอร์ดหนึ่งมารองรับหรือก็คือลักษณะที่เค้าเรียกกันว่า V-I (Five-One) นั่นเอง

ดังนั้น คอร์ด"5สมมุติ" จึงต้องมีคอร์ด"1สมมุติ" มารองรับอยู่เสมอเช่นกัน
(หลายๆคนที่ยังไม่รู้จักกับ Secondary Dominant อาจเคยเจอมาแล้วครับ เช่น
คอร์ด E หรือ E7 ในคีย์ C หรือเช่น คอร์ด D7 ในคีย์ C)

คอร์ด"1สมมุติ"ที่ว่านี้ สามารถมีได้ทั้งหมด 3แบบครับ
  1. คอร์ดหนึ่งที่เป็น I major
  2. คอร์ดหนึ่งที่เป็น I minor
  3. คอร์ดหนึ่งที่เป็น I dominant
(ส่วนคอร์ด half dim และคอร์ด dim จะไม่ใช่คอร์ดหนึ่งนะครับ)

และจาก Diatonic จะเห็นได้ว่า เรามีคอร์ด major ทั้งหมดสองคอร์ด
คือคอร์ด I(1) และ คอร์ด IV(4) (C และ F ในคีย์ C)
คอร์ด minor สามคอร์ด คือคอร์ด II(2), คอร์ด III(3) และคอร์ด VI(6) (Dm, Em และ Am ในคีย์ C)
คอร์ด dominant คอร์ดเดียว คือคอร์ด V(5) (G7 ในคีย์ C)

นั่นหมายความว่า คอร์ด I(1), II(2), III(3), IV(4), V(5) และ VI(6) สามารถมี"ห้าสมมุติ"ได้  ยกตัวอย่างเป็นคีย์ C ก็ได้ดังต่อไปนี้...
   G7 -> Cmaj     เรียกว่า V of I (Five of One) หรือแปลได้ตรงๆว่า "ห้าของหนึ่ง"
   A7 -> Dm        เรียกว่า V of II (Five of Two) หรือแปลได้ตรงๆว่า "ห้าของสอง"
   B7 -> Em        เรียกว่า V of III (Five of Three) หรือแปลได้ตรงๆว่า "ห้าของสาม"
   C7 -> Fmaj      เรียกว่า V of IV (Five of Four) หรือแปลได้ตรงๆว่า "ห้าของสี่"
   D7 -> G7         เรียกว่า V of V (Five of Five) หรือแปลได้ตรงๆว่า "ห้าของห้า"
   E7 -> Am        เรียกว่า V of VI (Five of Six) หรือแปลได้ตรงๆว่า "ห้าของหก"

ตัวอย่างทางเดินคอร์ด "ห้าของสอง" (V of II)
   | Dm | G7 | Cmaj | A7 | (A7 จะส่งกลับไปหา Dm)
ตัวอย่างทางเดินคอร์ด "ห้าของสาม" (V of III)
   | Fmaj | F#m7(b5) B7 | Em Am | Dm G |
ตัวอย่างทางเดินคอร์ด "ห้าของสี่" (V of IV)
   | C | C7 | Fmaj | G7 |
ตัวอย่างทางเดินคอร์ด "ห้าของห้า" (V of V)
   | D7 | G7 | C | Am |
ตัวอย่างทางเดินคอร์ด "ห้าของหก" (V of VI) นะครับ
   | Am | % | Bm7(b5) | E7 | (E7 จะส่งกลับไปหา Am)

Secondary Dominant เนี่ย มันโผล่มาได้ยังไง?

ด้วยความที่โน๊ตตัวที่ 3 และ 7 ของคอร์ดดอมิแนนท์ มีระยะห่างเป็นขั้นคู่ Tritone(ขั้นคู่สามเสียง) ซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกว่า มันกำลังส่งต่อ คือไปได้อีกนะ มันยังไม่จบ จึงทำให้คอร์ดดอมิแนนท์เหล่านี้  ใช้เพื่อส่งต่อไปหาคอร์ดหนึ่ง ได้อย่างลงตัว

"คอร์ดดอมิแนนท์ต้องส่งหาคอร์ดหนึ่ง ได้อย่างเดียวเหรอ?"
ส่งหาคอร์ดหนึ่งมันหมดจรดครับ ถ้าลองสังเกตุ Guide tone ของคอร์ด V-I ดู แต่ความจริงดอมิแนนท์ก็สามารถส่งไปหาคอร์ดอื่นได้   ซึ่งจะเป็นเรื่องของ Substitution Chord(คอร์ดแทน) และ Modal Interchange  (การยืมโหมดมาใช้) หรือบางคนก็เรียกว่า  Borrowed Chord(คอร์ดยืม)


ว่ากันต่อถึงเรื่องของ Secondary Dominant ยังมีเรื่องที่เรียกว่า Extended Dominant ด้วย ซึ่งจริงๆมันก็คือ Extend = "ต่อ หรือ ขยายออกไป" 
เช่น จากชุดคอร์ดในครั้งก่อน
   | Em | Am | Dm | G7 |
ถ้ามองถึง Secondary Dominant ก็อาจเป็นได้เช่นนี้
   | E7 | Am | Dm | G7 | หรือ | Em | A7 | Dm | G7 | หรือ | Em | Am | D7 | G7 |
และถ้ามองเป็น Extended Dominant ก็จะได้
   | E7 | A7 | D7 | G7 |
หลักการของ Extend Dominant ก็คือการใช้คอร์ดตามวงจรคู่5 เป็นดอมิแนนท์ส่งไปจนกว่าจะถึงคอร์ดที่เป็นเป้าหมาย

               

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Diatonic(ไดอาโทนิค)

Chord Scale